medesignsystem@gmail.com, co@medesignsystem.com
123/190 เพอร์เฟคพาร์คบางบัวทอง อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
084-449-4514, 065-632-9799 (คุณนิ)

มาตรฐานการออกแบบ-เบรกเกอร์ขนาดใหญ่ (ACB)

       หลังจากที่บทความก่อนหน้าในเรื่องมาตรฐาน IEC ของ Circuit Breaker (CB) ของเราได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาเสริมความรู้เล็กน้อยจากบทความที่แล้วและเพิ่มเติมเรื่องเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ (ACB) ให้ด้วย

สำหรับ มาตรฐานในการออกแบบและข้อกำหนดต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ

  1. มาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า
  2. มาตรฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า

นอกจากนี้ มาตรฐานยังแบ่งออกได้อีก 2 แบบ คือ มาตรฐานประจำชาติและมาตรฐานสากล ดังนี้

1. มาตรฐานประจำชาติ (National Standards) ได้แก่

     – ANSI (American National Standard Institute) ของประเทศสหรัฐอเมริกา
     – BS (British Standard) ของประเทศสหราชอาณาจักร
     – DIN (German Industrial Standard) ของประเทศเยอรมันณี
     – VDE (Verband Deutscher Elektrotechniker) ของประเทศเยอรมันณี
     – JIS (Japan Industrial Standard) ของประเทศญี่ปุ่น
     – TIS หรือ มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสหกรรม) ของประเทศไทย
     – EIT หรือ วสท. (มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า) ของประเทศไทย

2. มาตรฐานสากล (International Standards)

 

ที่มา : ข้อมูล Asefa co., ltd และ Schneider electric

  • โดยแต่ละมาตรฐาน ก็มีความหมายดังนี้
    • ISO (International Organization for Standardization) : เป็นมาตรฐานทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ยกเว้นทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์) เช่น ISO9000, 9001, 9002 (เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์สินค้า), ISO14000 (เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม)
    • IEC (International Electrotechnical Commission) : เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ร่างมาตรฐานทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยขณะนี้ IEC มีประเทศสมาชิกเกือบทุกประเทศในโลกแล้ว ซึ่งรวมถึงไทยด้วย ตัวอย่างที่พบเห็นกันทั่วไป คือ
      • มาตรฐานอุปกรณ์  อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในระบบไฟฟ้าที่นิยมใช้กันมาก คือ IEC เช่น IEC- 60947-2 “Low Voltage Switchgear and Control Gear Part 2” เป็นมาตรฐานสำหรับเซอร์กิตเบรกเกอร์ ส่วนใหญ่การออกแบบระบบรวมถึงข้อกำหนดของอุปกรณ์ไฟฟ้าจะอ้างอิงมาจาก มอก. และมาตรฐาน IEC เป็นหลัก หรือบางครั้งก็ใช้มาตรฐานอื่นประกอบหากอปุกรณ์ดังกล่าวไม่มีอยู่ในมาตรฐานไทยหรือมาตรฐาน IEC
      • มาตรฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า  ตัวอย่างเช่น IEC 60364-1ถึง-7 มาตรฐานการติดตั้งงานระบบเป็นต้น
    • EN (European Standard) : ในหลายประเทศในทวีปยุโรปได้รวมตัวกันจัดตั้งคณะกรรมการที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานทางไฟฟ้าซึ่งเรียกว่า CENELEC (European Committee for Electrotechnical Standardization) โดย CENELEC ได้จัดทำมาตรฐานทางไฟฟ้าของยุโรป คือ EN (European Standard) ซึ่งมาตรฐาน EN นี้เป็นมาตรฐานบังคับ กล่าวคือ ถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้ตามมาตรฐานนี้ จะนำเข้ามาขายในกลุ่มประเทศสมาชิกไม่ได้

AIR CIRCUIT BREAKER: ACB– IEC Standard

ACB – Circuit Breaker connection type

2 type of connection

1.Fixed version-front

 

ที่มา : ข้อมูล Asefa co., ltd และ Schneider electric

2.Drawout version

 

ที่มา : ข้อมูล Asefa co., ltd และ Schneider electric

 มีคุณสมบัติดังนี้

  1. มีค่ากระแสตั้งแต่ 800-6300 Amp
  2. ค่า I cu (Rated short-circuit breaking capacity: ค่าพิกัดการทนกระแสลัดวงจร สูงสุดโดยปลอดภัยของเบรกเกอร์) มีค่า สูง (kA rms)
  3. ค่าค่า I cw (Rated short-time withstand current: ค่าพิกัดกระแสลัดวงจรสูงสุดสำหรับเบรกเกอร์ชนิด B ที่สามารถทนได้ทั้งผลทางด้านอุณหภูมิ ความเค้น และ ความเครียดจากสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น โดยตัวมันเองไม่เสียหายในช่วงเวลาหนึ่ง) จึงใช้ทำการต่อรวมได้

หลักการที่ ACB ใช้ในการตรวจจับ และตัดกระแสเกิน

  • Thermal-Magnetic trip unit : การสั่งปลดวงจรจำนวน 2 ส่วน

1. Thermal Unit Trip จะสั่งปลดวงจรเมื่อกระแสเกินจากOverload กระแสไหลผ่านแผ่นไบเมทอล (bimetal) จะเกิดความร้อนจนโก่งงอไปปลดอุปกรณ์ทางกล (mechanical) ทำให้ปลดวงจรออก

 

ที่มา : ข้อมูล Asefa co., ltd และ Schneider electric

2. Magnetic unit จะสั่งปลดวงจรเมื่อกระแสเกินเนื่องจากลัดวงจร (short circuit) หากเกิดการลัดวงจรหรือกระแสสูงๆ ประมาณ 8-10 เท่าขึ้นไปไหลผ่านจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก และเกิดแรงขึ้นจำนวนหนึ่งจนสามารถดึงอุปกรณ์ออก

 

ที่มา : ข้อมูล Asefa co., ltd และ Schneider electric

  • Electronic trip unit :
    • ใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์เป็นตัววิเคราะห์และสั่งปลดวงจร
    • สามารถปรับระดับกระแส Tripได้ และปรับค่าหน่วงเวลาได้ (Time delay)
    • มี Fault Indicator แสดงสาเหตุการปลดวงจร
    • มี Pre-trip alarm เตือนเมื่อเบรกเกอร์ใกล้จะTrip เพราะกระแส Overload
    • มีฟังก์ชั่นแอมมิเตอร์

 

ที่มา : ข้อมูล Asefa co., ltd และ Schneider electric

กราฟแสดงการทำงานของเบรกเกอร์ (Tripping Curves)

 

ที่มา : ข้อมูล Asefa co., ltd และ Schneider electric

จากกราฟแสดงการทำงานของเบรกเกอร์ข้างต้น มีลักษณะดังนี้

  • เวลาในการตัดวงจรของเบรกเกอร์ (Tripping time) แสดงเวลาในการตัดวงจร มีหน่วยเป็นวินาที อยู่ในแนวแกนตั้งของกราฟ
  • ปริมาณกระแสที่ไหลผ่านเบรกเกอร์ แสดงปริมาณกระแสที่ไหลผ่านเบรกเกอร์ โดยกราฟจะแสดงเป็นจำนวนเท่าของค่าแอมป์ทริปของเบรกเกอร์ มีหน่วยเป็นแอมป์ อยู่ในแนวแกนนอนของกราฟ

การตัดวงจรโดยอาศัยผลทางความร้อน (Thermal Tripping)

 

ที่มา : ข้อมูล Asefa co., ltd และ Schneider electric

จากกราฟแสดงการตัดวงจรโดยอาศัยผลทางความร้อนข้างต้น มีลักษณะดังนี้

  • เส้นกราฟจะอยู่ช่วงบนซ้ายของกราฟ
  • ระดับกระแสที่เบรกเกอร์ทำงานจะอยู่ระหว่าง 1-10 เท่าของค่าแอมป์ทริป
  • แผ่น bimetal จะทำงาน (โก่งงอ) เมื่อกระแสเกินไหลผ่าน แล้วทำให้เกิดความร้อน
  • กระแสยิ่งไหลผ่านมากเท่าไร เบรกเกอร์ยิ่งตัดวงจรเร็วมากขึ้นเท่านั้น

การตัดวงจรโดยอาศัยผลทางความร้อน (Thermal Tripping)

 

ที่มา : ข้อมูล Asefa co., ltd และ Schneider electric

กราฟแสดงการทำงานของเบรกเกอร์แบบ Electronic trip unit

 

ที่มา : ข้อมูล Asefa co., ltd และ Schneider electric

       และนี่ก็คือมาตรฐานการออกแบบและเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ (ACB) หวังว่าทุกท่านที่ได้อ่านจะเกิดความเข้าใจเพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย หากมีคำถาม ความคิดเห็น หรือคำแนะนำในส่วนใดสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่กล่องด้านล่างได้เลยค่ะ ส่วนบทความในครั้งหน้า เราจะพูดเกี่ยวกับเรื่อง Protection against insulation faults Ground fault” รอติดตามกันด้วยนะคะ

6 thoughts on “มาตรฐานการออกแบบ-เบรกเกอร์ขนาดใหญ่ (ACB)

  1. Status Auto Liker, Photo Auto Liker, Autolike, Photo Liker, auto liker, Autoliker, Increase Likes, Autoliker, autoliker, Working Auto Liker, Auto Liker, Status Liker, Auto Like, Autolike International, autolike, ZFN Liker, auto like

  2. Paragraph writing is also a excitement, if you be familiar with then you can write otherwise it is complex to write.|

  3. Hey just wanted to give you a quick heads up. The words in your post seem to be running off the screen in Safari.

    I’m not sure if this is a formatting issue or something
    to do with browser compatibility but I figured I’d post to let you
    know. The design look great though! Hope you get the issue solved soon. Thanks

  4. Spot on with this write-up, I really think this website needs far more attention. I’ll
    probably be returning to see more, thanks for the advice!

  5. I love what you guys tend to be up too. This type of clever
    work and coverage! Keep up the excellent works guys I’ve added you guys to blogroll.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *