medesignsystem@gmail.com, co@medesignsystem.com
123/190 เพอร์เฟคพาร์คบางบัวทอง อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
084-449-4514, 065-632-9799 (คุณนิ)

ไฟฟ้าน่ารู้เบื้องต้น (ฉบับคนใช้ไฟ)

ไฟฟ้าเป็นอะไรที่ทุกคนมองดูยาก แต่เรื่องจริงก็ยากจริง ๆ นั่นแหละ แต่ว่าในชีวิตประจำวันของเราทุกคนก็ต้องเกี่ยวข้องหรือสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าอยู่แล้ว ดังนั้น การรู้เรื่องไฟฟ้าเบื้องต้นเป็นเรื่องที่สำคัญ ในบทความนี้เราจึงจะมาเรียนรู้พื้นฐานกันเลยดีกว่า

“กระแสไฟฟ้า” เปรียบเสมือนน้ำที่อยู่ในท่อ ไหลจากสูงไปต่ำ ก็เหมือนกับ การไหลของกระแสไฟฟ้าที่ไหลเมื่อศักย์ไฟฟ้าที่ต่างกัน ไหลจากศักย์สูงไปศักย์ต่ำ

ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าหรือโรงไฟฟ้า จะผลิตกระแสไฟฟ้าความต่างศักย์สูงเพื่อให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าในสาย ส่งไปใช้ตามบ้านเรือนและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังแสดงในรูป

วงจรไฟฟ้าในบ้าน

วงจรในบ้าน มีความต่างศักย์เท่ากับ 220 โวลต์ อันดับแรก เราจะเรียนรู้จากมิเตอร์การไฟฟ้าหน้าบ้านไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ กัน โดยเริ่มจากสายส่งกระแสไฟฟ้ากันก่อน ซึ่งมี 2 ชนิด คือ

  1. ชนิดมีสาย 2 เส้น (สายเฟส, สายนิวทรัล) ยกตัวอย่าง วงจรไฟฟ้าแสงสว่าง คือสายจากมิเตอร์ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้ามาในบ้าน เรียกว่า สายเฟสหรือสายไลน์ (Line) เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านหลอดไฟ หลอดไฟจะสว่างและจะมีกระแสไฟฟ้าไหลออกจากหลอดไฟไปยังมิเตอร์ไฟฟ้า เรียกว่า สายนิวทรัล
  2. ชนิดมีสาย 3 เส้น (สายเฟส, สายนิวทรัล, สายดิน) เป็นกรณีมีสายดิน เนื่องจากมีอุปกรณ์บางชนิดอาจจะมีกระแสไฟฟ้ารั่วโดยธรรมชาติของอุปกรณ์ เช่น คอมเพลสเซอร์แอร์ ตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น หรืออุปกรณ์ชำรุด ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อเราสัมผัส สายดินจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลลงดินก่อน ทำให้เมื่อสัมผัสไฟฟ้าที่รั่ว จึงไม่เกิดอันตราย ตัวอย่างเช่น ในวงจรไฟฟ้าแสงสว่าง มีลักษณะการต่อคือ การต่อจากอุปกรณ์เลย มีสายเพิ่มจากหลอดไฟหนึ่งเส้นลงไปที่แท่งหลักดิน ซึ่งสายดินจะถูกเชื่อมต่อไปยังแท่งหลักดินที่ฝังลงไปในดินลึกๆ ประมาณ 1-2 เมตร เพื่อให้ความต้านทานต่ำกว่า 5 โอมห์

การใช้ไฟเกิน

ในกรณีที่เราต่ออุปกรณ์เข้าไปในวงจรมาก ๆ หรือมีการต่อพ่วงจากปลั๊กไฟมาก ๆ เป็นผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้ามีแรงดูดไฟเพื่อนำมาใช้สูง ทำให้ไฟในสายมีการไหลสูง จนสะสมนานทำให้เกิดความร้อน และเกิดการลุกไหม้เมื่อใช้ไปนาน ๆ

ไฟรั่วหรือไฟดูด

เกิดจากการที่อุปกรณ์บางชนิดมีไฟรั่วหรืออุปกรณ์ชำรุด เมื่อเราไปสัมผัสกระแสไฟจะไหลผ่านร่างกายลงดินทำให้เกิดอันตรายได้

ลักษณะการไหลมี 3 กรณี คือ

  1. กรณีวงจรไม่มีไฟรั่ว กระแสออกจากตู้ไฟ เท่ากับกระแสที่กลับมายังตู้ไฟ
  2. เกิดอันตรายกรณีเกิดไฟรั่วมีสายดิน กระแสไฟฟ้าไหลลงดินเนื่องจากมีการรั่ว
  3. กรณีกระแสไฟฟ้ารั่วไม่มีสายดิน เมื่อเราไปจับ กระแสไฟจะไหลผ่านผ่านตัวคนลงสู่พื้นดิน เรียกว่า “ไฟดูด”

การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า (ไฟฟ้าลัดวงจร, ไฟดูดหรือรั่ว)

ตู้ Consumer Unit และตู้โหลด เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยป้องกันโดยตู้นี้จะถูกติดตั้งต่อจากมิเตอร์การไฟฟ้า เพื่อควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้านทั้งหมดก่อนผ่านกระแสไฟฟ้าไปใช้ภายในบ้าน ประกอบไปด้วย อุปกรณ์หลัก ๆ คือ

  • ตู้ ที่ใช้ติดตั้งเบรกเกอร์ และอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดรวมทั้งเชื่อมต่อสายไฟฟ้าภายใน
  • เบรกเกอร์ จะป้องกันการลัดวงจร และไฟเกิน จากการใช้งาน
  • อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด จะป้องกันในกรณีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกนอกวงจร

หลักการติดตั้งวงจรเบรกเกอร์ป้องกันในตู้ จะแยกวงจรเบื้องต้นดังนี้

  • วงจรไฟฟ้าแสงสว่าง
  • วงจรเต้ารับ
  • วงจรเครื่องปรับอากาศ
  • เครื่องทำน้ำอุ่น (ต้องควบคุมเรื่องกระแสไฟฟ้ารั่ว)
  • ปั๊มน้ำ (ต้องควบคุมเรื่องกระแสไฟฟ้ารั่ว)

โดยที่ วิธีการจัดเรียงเบรกเกอร์แบ่งเป็น 2 วิธี คือ

  1. การติดตั้งเบรกเกอร์ของอุปรณ์ป้องกันที่ไม่จำเป็นต้องควบคุมเรื่องกระแสไฟฟ้ารั่ว  ต่อจากเบรกเกอร์หลัก แล้วใช้ตัวกันดูดเพียงตัวเดียวควบคุมเบรกเกอร์ ส่วนที่จำเป็นต้องระวังไฟดูด
  2. ใช้เบรกเกอร์ชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติในการป้องกันไฟช๊อต ไฟเกิน และไฟดูดในตัวเดียวกัน

จบไปแล้วสำหรับไฟฟ้าในบ้าน หวังว่าทุกท่านที่ได้อ่านจะเกิดความเข้าใจเพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย หากมีคำถาม ความคิดเห็น หรือคำแนะนำในส่วนใดสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่กล่องด้านล่างได้เลยค่ะ หรือใครอยากรู้เรื่องอะไรก็สามารถสอบถามกันเข้ามาได้เลยนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *