medesignsystem@gmail.com, co@medesignsystem.com
123/190 เพอร์เฟคพาร์คบางบัวทอง อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
084-449-4514, 065-632-9799 (คุณนิ)

แชร์การขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ใบ กว.) ระดับภาคีวิศวกร สาขา ไฟฟ้าสื่อสาร

การยื่นคำขอรับใบ กว. ระดับภาคีวิศวกร สาขา ไฟฟ้าสื่อสาร                  สวัสดีทุกท่านที่กำลังอ่านบทความนี้  หลังจากที่ห่างหายไปนาน วันนี้แอดมินอยากมาแชร์บทความเรื่องนี้กัน คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นที่กำลังหาข้อมูลในเรื่องนี้อยู่ ซึ่งอันที่จริงแล้วนั้น   ขั้นตอนในการขอไม่ง่ายและไม่ยาก ใช้เวลาไม่นาน (ประมาณ 3 เดือน) ก็ได้รับใบ กว. แล้ว โดยมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงสิ้นสุดที่ต้องจ่ายขั้นต่ำเลย คือ 5,500 บาท ทีนี้ มาดูกันว่าต้องทำยังไงบ้าง ขั้นตอนแรก ในการยื่นคำขอรับใบ กว. ระดับภาคีวิศวกร จะต้องเป็นสมาชิกสภาวิศวกรประเภทสามัญก่อน และต้องสำเร็จการศึกษาในปริญญาที่สภาวิศวกรรับรอง โดยเราสามารถตรวจสอบได้ว่าหลักสูตรที่เรียนจบมาสภาวิศวกรรับรองหรือไม่ ได้ที่ลิ้งค์นี้ https://dev.coe.or.th/http_public/new_cer/examination.php ถ้ารับรองก็สมัครสอบได้เลย เข้าไปสมัครได้ในระบบที่

สัดส่วนมูลค่างานก่อสร้าง

ในการคำนวณหามูลค่างานก่อสร้างนั้นเป็นสิ่งสำคัญจำเป็นอย่างมาก เจ้าของงานจำเป็นต้องทราบว่ามูลค่าโดยประมาณโครงการก่อสร้าง สัดส่วนต้นทุน งานก่อสร้าง เป็นอย่างไร บทความนี้จะกล่าวถึงสัดส่วนมูลค่างานก่อสร้าง ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง การคิดราคางานมีหลักเกณฑ์หรือข้อกำหนดอะไรเบื้องต้น ดังนี้ สัดส่วนมูลค่างานก่อสร้าง สัดส่วนมูลค่างานก่อสร้าง ประกอบด้วย 1) งานโครงสร้างมูล  ประมาณ 50% ของมูลค่างานที่ก่อสร้าง 2) งานสถาปัตย์ ประมาณ 20% ของมูลค่างานที่ก่อสร้าง 3) งานระบบไฟฟ้า ประมาณ 15% ของมูลค่างานที่ก่อสร้าง 4) งานระบบสุขาภิบาล ประมาณ 5% ของมูลค่างานที่ก่อสร้างทั้งหมด  5) งานระบบปรับอากาศ ประมาณ 10% ของมูลค่างานก่อสร้างทั้งหมด การคิดราคางาน สำหรับงานก่อสร้างอาคารต่าง ๆ นั้น ก็จะมีอาคารอยู่หลายประเภท

การออกแบบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

         การออกแบบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ตามมาตรฐานที่ใช้สำหรับอาคารต่าง ๆ  ตั้งแต่ บ้านพักอาศัย อาคารขนาดเล็กจนถึงอาคารขนาดใหญ่ โดยที่ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้  ต้องเป็นระบบอิสระทำงานได้ถูกต้องด้วยตัวเอง แยกออกจากระบบควบคุมอื่น ๆ แต่สามารถเชื่อมข้อมูลสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ระบบควบคุมอาคารรวมให้รับทราบและสามารถบันทึกหน่วยความจำได้ อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนในระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่เลือกมาใช้งาน ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ        1. ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้แบบ Hard wire system            ระบบจะสั่งการทำงานผ่านตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm Control Panel) มีการแบ่งโซนการทำงานโดยมีอุปกรณ์ตรวจจับ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับควัน

การเลือกขนาดเบรกเกอร์และสายที่ใช้

ในบทความนี้จะมาพูดถึงคำถามที่พบบ่อย ๆ เกี่ยวกับการเลือกขนาดเบรกเกอร์และสายที่ใช้บ้านพักอาศัยทั่วไปว่าต้องใช้เบรกเกอร์เท่าไหร่ สายเท่าไหร่ วันนี้จะมาตอบคำถามและบอกวิธีการเลือกทั้งสายและขนาดเบรกเกอร์กันนะคะ สายเราจะใช้แค่ชนิด IEC-01 หรือเมื่อก่อนใช้ THW กันนั่นเอง (การคิดที่มาบอกเป็นแค่คร่าวๆ นะคะ ไม่ได้ตรงตามหลักการทั้งหมด เพื่อใช้คำนวณเบื้องต้น) เริ่มจากการใช้ชนิดโหลดกำลังไฟฟ้าในการคำนวณก่อน ปกติจะใช้หน่วย โวลต์แอมแปร์ (VA)  ดังนั้นต้องทำให้เป็น VA ก่อนทุกครั้ง โดยสูตรทั่วไปในการหากำลังไฟฟ้า หาได้จากสมการข้างล่าง     P = IVCosθ     หน่วย : วัตต์ โดยปกติเครื่องใช้ไฟฟ้าจะบอกหน่วยเป็นวัตต์  แต่เวลาใส่ตารางโหลดในการคำนวณต้องทำให้เป็นโวลต์แอมแปร์  โดยอาจแทนค่าเพาว์เวอร์เฟคเตอร์ (Cosθ หรือค่าเพาว์เวอร์เฟคเตอร์) ถ้าต้องการตรงแบบถูกต้องต้องถามกับผู้ขายโดยตรง หรือไม่ดูรายละเอียดสินค้า แต่ส่วนใหญ่จะไม่บอกต้องถามกับฝ่ายเทคนิคของเจ้าของสินค้า แต่เราโดยทั่วไปอาจกำหนดค่าเป็น 0.7, 0.8

การออกแบบระบบกล้องวงจรปิด (CCTV System Design)

ในการออกแบบกล้องวงจรปิด สิ่งแรกที่กำหนดการออกแบบนอกจากความต้องการของเจ้าของงานแล้ว คืองบประมาณเป็นตัวกำหนด เพื่อเลือกชนิดกล้อง ซึ่งกล้องแบ่งออกเป็น 2 ชนิด แบบระบบ Analogและ ระบบ IP   ความต้องการของผู้ใช้งานในการออกแบบ แบ่งตามชนิดของงาน ออกแบบระบบใหม่ ออกแบบปรับปรุงใหม่ มีระบบเดิมอยู่แล้ว ปรับปรุงย่อยบางส่วน งานซ่อมบำรุง ขั้นตอนทางเทคนิคในการออกแบบระบบ 1. กำหนดจุดติดตั้งกล้อง     กำหนดจำนวนกล้องทั้งหมด คือ ออกแบบติดตั้งจุดมุมต่าง ๆที่เราต้องการเฝ้าระวังหรือ ต้องการตรวจสอบ ซึ่งหากสรุปจำนวนได้แล้วว่าต้องการติดทั้งหมดกี่จุด เพื่อกำหนดขนาด ของเครื่องบันทึก 2. กำหนดความต้องการพื้นฐานกล้องและกำหนดความต้องการพิเศษกล้องแต่ละตัว     ประเภทของกล้องที่จะติดให้เหมาะสมกับการใช้งานโดยพิจารณาจากพื้นที่ และความต้องการดูภาพในลักษณะกลางวันและกลางคืน หากต้องการดูภาพตอนกลางคืนนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2.1) มืดแต่มีแสงส่องถึง

ฉลากเบอร์ 5 บอกอะไรเราบ้าง

เชื่อว่าทุกคนคงเคยเห็นฉลากที่ติดอยู่บนเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละตัว ฉลากตัวนี้คือ “ฉลากประหยัดไฟ” หรือ “ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5” ที่เราคุ้น ๆ หูกัน โดยฉลากเบอร์ 5 แบบใหม่ ได้มีการเพิ่มเติมสิ่งใหม่โดยเริ่มใช้ 1 มกราคม 62 ที่ผ่านมานี้เอง บทความนี้เราจะมาบอกถึงการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยดูจากฉลากประหยัดไฟว่าต้องดูอะไรบ้าง เป็นของแท้หรือไม่ และในฉลากบอกอะไรบ้าง ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 (Label no.5) เป็นโครงการภายใต้ชื่อ โครงการประชาร่วมใจประหยัดไฟฟ้า (Together Conservation) ได้ดำเนินโครงการ “ฉลากประหยัดไฟเบอร์5” โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองประสิทธิภาพเบอร์ 5 จำนวน 20 รายการ มีดังนี้ ตู้เย็น พัดลมส่ายหัวรอบตัว เครื่องปรับอากาศ

ไฟฟ้าน่ารู้เบื้องต้น (ฉบับคนใช้ไฟ)

ไฟฟ้าเป็นอะไรที่ทุกคนมองดูยาก แต่เรื่องจริงก็ยากจริง ๆ นั่นแหละ แต่ว่าในชีวิตประจำวันของเราทุกคนก็ต้องเกี่ยวข้องหรือสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าอยู่แล้ว ดังนั้น การรู้เรื่องไฟฟ้าเบื้องต้นเป็นเรื่องที่สำคัญ ในบทความนี้เราจึงจะมาเรียนรู้พื้นฐานกันเลยดีกว่า “กระแสไฟฟ้า” เปรียบเสมือนน้ำที่อยู่ในท่อ ไหลจากสูงไปต่ำ ก็เหมือนกับ การไหลของกระแสไฟฟ้าที่ไหลเมื่อศักย์ไฟฟ้าที่ต่างกัน ไหลจากศักย์สูงไปศักย์ต่ำ ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าหรือโรงไฟฟ้า จะผลิตกระแสไฟฟ้าความต่างศักย์สูงเพื่อให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าในสาย ส่งไปใช้ตามบ้านเรือนและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังแสดงในรูป วงจรไฟฟ้าในบ้าน วงจรในบ้าน มีความต่างศักย์เท่ากับ 220 โวลต์ อันดับแรก เราจะเรียนรู้จากมิเตอร์การไฟฟ้าหน้าบ้านไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ กัน โดยเริ่มจากสายส่งกระแสไฟฟ้ากันก่อน ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ชนิดมีสาย 2 เส้น (สายเฟส, สายนิวทรัล) ยกตัวอย่าง วงจรไฟฟ้าแสงสว่าง คือสายจากมิเตอร์ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้ามาในบ้าน เรียกว่า สายเฟสหรือสายไลน์

แผงสวิตช์ไฟฟ้าแรงต่ำกับการออกแบบ

        บทความนี้ เราจะมากล่าวถึงข้อกำหนดคร่าว ๆ สำหรับการออกแบบ แผงสวิตช์แรงดันต่ำ สำหรับผู้ออกแบบทั่วไป ดังนี้ 1. แผงสวิตช์แรงดันต่ำ                            1. ด้านการออกแบบและสร้างแผงสวิตช์ไฟฟ้าแรงต่ำ ซึ่งประกอบด้วย แผงสวิตช์ไฟฟ้าประธานปกติ (Main Distribution Board, MDB) แผงสวิตช์ไฟฟ้าฉุกเฉิน (Emergency Distribution Panel, EDP) แผงสวิตช์ไฟฟ้ารองทั่วไป (Sub Distribution Panel, SUB or Feeder Board)             2. แผงสวิตช์แรงดันต่ำในการนำมาใช้ ต้องได้รับตามมาตรฐานดังต่อไปนี้

ประเภทของเบรกเกอร์และค่าต่าง ๆ ในอุปกรณ์ Circuit Breaker

     ในบทความนี้เราจะมาเพิ่มเติมความรู้จากบทความที่แล้ว โดยบอกถึงค่าต่าง ๆ ของเบรกเกอร์ในการทริปกันค่ะ ค่า Amp Trip ( AT ) เรียกโดยทั่วไปว่า “แอมป์ทริป” (หน่วย : แอมแปร์ (A)) Circuit breaker หรือเบรกเกอร์จะตัด (เปิด) วงจร (ทริป) เพื่อป้องกันกระแสเกินเมื่อกระแสที่ไหลผ่าน Circuit breaker มีค่าสูงกว่าค่า Amp trip  ตัวอย่างเช่น เบรกเกอร์ที่มีค่าแอมป์ทริป 100 A กรณีตัวอย่าง เมื่อกระแส 0-100 A ไหลผ่าน →  เบรกเกอร์จะไม่ทริป  หากมีกระแส

มาตรฐานการออกแบบ-เบรกเกอร์ขนาดใหญ่ (ACB)

       หลังจากที่บทความก่อนหน้าในเรื่องมาตรฐาน IEC ของ Circuit Breaker (CB) ของเราได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาเสริมความรู้เล็กน้อยจากบทความที่แล้วและเพิ่มเติมเรื่องเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ (ACB) ให้ด้วย สำหรับ มาตรฐานในการออกแบบและข้อกำหนดต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ มาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า มาตรฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า นอกจากนี้ มาตรฐานยังแบ่งออกได้อีก 2 แบบ คือ มาตรฐานประจำชาติและมาตรฐานสากล ดังนี้ 1. มาตรฐานประจำชาติ (National Standards) ได้แก่      – ANSI (American National Standard