medesignsystem@gmail.com, co@medesignsystem.com
123/190 เพอร์เฟคพาร์คบางบัวทอง อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
084-449-4514, 065-632-9799 (คุณนิ)

การเลือกขนาดเบรกเกอร์และสายที่ใช้

ในบทความนี้จะมาพูดถึงคำถามที่พบบ่อย ๆ เกี่ยวกับการเลือกขนาดเบรกเกอร์และสายที่ใช้บ้านพักอาศัยทั่วไปว่าต้องใช้เบรกเกอร์เท่าไหร่ สายเท่าไหร่ วันนี้จะมาตอบคำถามและบอกวิธีการเลือกทั้งสายและขนาดเบรกเกอร์กันนะคะ สายเราจะใช้แค่ชนิด IEC-01 หรือเมื่อก่อนใช้ THW กันนั่นเอง (การคิดที่มาบอกเป็นแค่คร่าวๆ นะคะ ไม่ได้ตรงตามหลักการทั้งหมด เพื่อใช้คำนวณเบื้องต้น) เริ่มจากการใช้ชนิดโหลดกำลังไฟฟ้าในการคำนวณก่อน ปกติจะใช้หน่วย โวลต์แอมแปร์ (VA)  ดังนั้นต้องทำให้เป็น VA ก่อนทุกครั้ง โดยสูตรทั่วไปในการหากำลังไฟฟ้า หาได้จากสมการข้างล่าง     P = IVCosθ     หน่วย : วัตต์ โดยปกติเครื่องใช้ไฟฟ้าจะบอกหน่วยเป็นวัตต์  แต่เวลาใส่ตารางโหลดในการคำนวณต้องทำให้เป็นโวลต์แอมแปร์  โดยอาจแทนค่าเพาว์เวอร์เฟคเตอร์ (Cosθ หรือค่าเพาว์เวอร์เฟคเตอร์) ถ้าต้องการตรงแบบถูกต้องต้องถามกับผู้ขายโดยตรง หรือไม่ดูรายละเอียดสินค้า แต่ส่วนใหญ่จะไม่บอกต้องถามกับฝ่ายเทคนิคของเจ้าของสินค้า แต่เราโดยทั่วไปอาจกำหนดค่าเป็น 0.7, 0.8

แผงสวิตช์ไฟฟ้าแรงต่ำกับการออกแบบ

        บทความนี้ เราจะมากล่าวถึงข้อกำหนดคร่าว ๆ สำหรับการออกแบบ แผงสวิตช์แรงดันต่ำ สำหรับผู้ออกแบบทั่วไป ดังนี้ 1. แผงสวิตช์แรงดันต่ำ                            1. ด้านการออกแบบและสร้างแผงสวิตช์ไฟฟ้าแรงต่ำ ซึ่งประกอบด้วย แผงสวิตช์ไฟฟ้าประธานปกติ (Main Distribution Board, MDB) แผงสวิตช์ไฟฟ้าฉุกเฉิน (Emergency Distribution Panel, EDP) แผงสวิตช์ไฟฟ้ารองทั่วไป (Sub Distribution Panel, SUB or Feeder Board)             2. แผงสวิตช์แรงดันต่ำในการนำมาใช้ ต้องได้รับตามมาตรฐานดังต่อไปนี้

ประเภทของเบรกเกอร์และค่าต่าง ๆ ในอุปกรณ์ Circuit Breaker

     ในบทความนี้เราจะมาเพิ่มเติมความรู้จากบทความที่แล้ว โดยบอกถึงค่าต่าง ๆ ของเบรกเกอร์ในการทริปกันค่ะ ค่า Amp Trip ( AT ) เรียกโดยทั่วไปว่า “แอมป์ทริป” (หน่วย : แอมแปร์ (A)) Circuit breaker หรือเบรกเกอร์จะตัด (เปิด) วงจร (ทริป) เพื่อป้องกันกระแสเกินเมื่อกระแสที่ไหลผ่าน Circuit breaker มีค่าสูงกว่าค่า Amp trip  ตัวอย่างเช่น เบรกเกอร์ที่มีค่าแอมป์ทริป 100 A กรณีตัวอย่าง เมื่อกระแส 0-100 A ไหลผ่าน →  เบรกเกอร์จะไม่ทริป  หากมีกระแส

มาตรฐานการออกแบบ-เบรกเกอร์ขนาดใหญ่ (ACB)

       หลังจากที่บทความก่อนหน้าในเรื่องมาตรฐาน IEC ของ Circuit Breaker (CB) ของเราได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาเสริมความรู้เล็กน้อยจากบทความที่แล้วและเพิ่มเติมเรื่องเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ (ACB) ให้ด้วย สำหรับ มาตรฐานในการออกแบบและข้อกำหนดต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ มาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า มาตรฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า นอกจากนี้ มาตรฐานยังแบ่งออกได้อีก 2 แบบ คือ มาตรฐานประจำชาติและมาตรฐานสากล ดังนี้ 1. มาตรฐานประจำชาติ (National Standards) ได้แก่      – ANSI (American National Standard

มาตรฐาน IEC ของ Circuit Breaker (CB)

บทความนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “เบรกเกอร์” ที่ใช้ในบ้านกัน ซึ่งในประเทศไทย เบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะอิงตามมาตรฐาน IEC (Internationnal Electrotechique Commission) เป็นมาตรฐานทางด้านไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิคส์ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ มาตรฐาน IEC 60898 สำหรับใช้ในบ้านพัก ที่อยู่อาศัย พิกัดกระแสไม่เกิน 125 Amp Trip ซึ่งผู้ใช้งานที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า จะไม่สามารถปรับ Amp Trip ได้ (ค่ากระแสพิกัดที่เบรกเกอร์จะทำการเปิดวงจร ไฟฟ้าจะดับ ไม่สามารถใช้งานได้) มาตรฐาน IEC 60947-2 สำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถปรับค่า

การออกแบบระบบไฟฟ้า – มาตรฐานในการติดตั้ง

หนังสือมาตรฐานการออกแบบการติดตั้งสำหรับไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย เนื้อหารวมถึงนิยาม ข้อกำหนดทั่วไป วัสดุ อุปกรณ์ และการติดตั้ง เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ใครสนใจสามารถซื้อไว้เป็นมาตรฐานอ้างอิงได้เลยค่ะ มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน มาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า ภาคที่ 2 การบริหารความเสี่ยง มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 4