บทความนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “เบรกเกอร์” ที่ใช้ในบ้านกัน ซึ่งในประเทศไทย เบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะอิงตามมาตรฐาน IEC (Internationnal Electrotechique Commission) เป็นมาตรฐานทางด้านไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิคส์ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
- มาตรฐาน IEC 60898 สำหรับใช้ในบ้านพัก ที่อยู่อาศัย พิกัดกระแสไม่เกิน 125 Amp Trip ซึ่งผู้ใช้งานที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า จะไม่สามารถปรับ Amp Trip ได้ (ค่ากระแสพิกัดที่เบรกเกอร์จะทำการเปิดวงจร ไฟฟ้าจะดับ ไม่สามารถใช้งานได้)
- มาตรฐาน IEC 60947-2 สำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถปรับค่า Ic (คือ ความสามารถในการตัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรของอุปกรณ์ป้องกันได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ทำให้อุปกรณ์ป้องกันนั้นเสียหายหรือไหม้ลุกลาม ) ได้
ชนิดของเซอร์กิตเบรคเกอร์แรงต่ำ (น้อยกว่า 1,000 Volt )
1. MCB – Miniature Circuit Breaker (0.5-125 A) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบรกเกอร์ลูกย่อย
ลักษณะการใช้งาน
เป็นเบรกเกอร์ขนาดเล็กใช้ติดตั้งภายในตู้ Consumer units, Load Center มีแบบ 1P, 2P, 3P ที่ 240/415 VAC ใช้ป้องกัน Overload, Short circuit สำหรับ Branch circuits, Feeder circuits มาตรฐาน IEC 60898 และ IEC 60947-2 นิยมใช้กันมากเพื่อทดแทนฟิวส์
2. MCCB – Molded Case Circuit Breaker (15-3,200 A) เป็น Main ของตู้โหลดภายในบ้านและใช้กับตู้ MDB (Main Distribution Board) และตู้ DB (Distribution Board)
โดย MCCB จะแบ่งตามลักษณะการ Trip ได้ 2 แบบ คือ
- Magnetic trip unit – ใช้สำหรับเปิดวงจรเมื่อเกิดกระแสลัดวงจร เมื่อกระแสไหลผ่านจำนวนมากเกินค่าที่กำหนด จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มสูง จะดึงให้อุปกรณ์เปิดวงจร กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้ ซึ่ง Magnetic trip unit จะตัดกระแสได้เร็วกว่า Thermal-magnetic trip unit
- Thermal-magnetic trip unit – ใช้สำหรับเปิดวงจรเมื่อมีกระแสผ่านไหลเกินค่าที่กำหนด เนื่องจาก Over load ซึ่งจะต้องอาศัยระยะเวลาและความร้อนของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านในการเปิดวงจร
3. ACB – Air Circuit Breaker (800-6,300 A) เป็น Circuit Breaker ขนาดใหญ่
เบรกเกอร์ ACB จะมี 2 แบบ คือแบบ Fixed ยึดกับรางอย่างถาวร และแบบ Draw-out ที่เลื่อนไปตามรางได้ ซึ่งจะสะดวกต่อการนำไปใช้และการถอดไปซ่อมแซม