ในบทความนี้จะมาพูดถึงคำถามที่พบบ่อย ๆ เกี่ยวกับการเลือกขนาดเบรกเกอร์และสายที่ใช้บ้านพักอาศัยทั่วไปว่าต้องใช้เบรกเกอร์เท่าไหร่ สายเท่าไหร่ วันนี้จะมาตอบคำถามและบอกวิธีการเลือกทั้งสายและขนาดเบรกเกอร์กันนะคะ สายเราจะใช้แค่ชนิด IEC-01 หรือเมื่อก่อนใช้ THW กันนั่นเอง (การคิดที่มาบอกเป็นแค่คร่าวๆ นะคะ ไม่ได้ตรงตามหลักการทั้งหมด เพื่อใช้คำนวณเบื้องต้น)
เริ่มจากการใช้ชนิดโหลดกำลังไฟฟ้าในการคำนวณก่อน ปกติจะใช้หน่วย โวลต์แอมแปร์ (VA) ดังนั้นต้องทำให้เป็น VA ก่อนทุกครั้ง
โดยสูตรทั่วไปในการหากำลังไฟฟ้า หาได้จากสมการข้างล่าง
P = IVCosθ หน่วย : วัตต์
โดยปกติเครื่องใช้ไฟฟ้าจะบอกหน่วยเป็นวัตต์ แต่เวลาใส่ตารางโหลดในการคำนวณต้องทำให้เป็นโวลต์แอมแปร์ โดยอาจแทนค่าเพาว์เวอร์เฟคเตอร์ (Cosθ หรือค่าเพาว์เวอร์เฟคเตอร์) ถ้าต้องการตรงแบบถูกต้องต้องถามกับผู้ขายโดยตรง หรือไม่ดูรายละเอียดสินค้า แต่ส่วนใหญ่จะไม่บอกต้องถามกับฝ่ายเทคนิคของเจ้าของสินค้า แต่เราโดยทั่วไปอาจกำหนดค่าเป็น 0.7, 0.8 แต่ถ้าทราบก็ค่าจริงก็สามารถใช้ค่าจริงได้เลยค่ะ
S = IV หน่วย โวลต์แอมแปร์ หรือ (S=P/Cosθ)
Remark : ตู้โหลดหรือตารางโหลดมี 2 แบบ
- ตู้คอนซูเมอร์ยูนิค Consumer Unit เป็นบ้านที่ใช้โหลดไม่สูงมากหนัก 1 เฟส 220 โวลต์ จำนวนวงจรย่อย ตั้งแต่ 6, 10, 14, 18 วงจร

- ตู้โหลด เป็นอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้า 3เฟส 4สาย จำนวนวงจรย่อยให้เลือก 12ช่อง, 18ช่อง, 24ช่อง, 30ช่อง, 36ช่อง, 42ช่อง

ดูตัวอย่างกันเลย
- คิดโหลดแสงสว่าง เราต้องทราบรายละเอียดโคม โดยต้องทราบชนิดโคมและวัตต์ก่อนว่าเท่าไร ตัวอย่างโคมที่ใช้ เป็นชนิด โคมฝังฝ้า ขนาด 36 Watt หากไม่ทราบค่าเพาว์เวอร์เฟคเตอร์ กำหนดค่าเป็น 0.7
ดังนั้นแทนค่าสูตร P=IVCosθ ได้ 36(watt)=Sx0.7 ค่าโวลต์แอมแปร์ ได้เท่ากับ ได้ค่าประมาณ 50 โวลต์แอมแปร์
วงจรที่ 1 CU-1=จำนวนโคม x กับ โวลต์แอมแปร์ ;โดยจากแปลนมี 10 โคม ดังนั้น CU-1=50*10=500 VA

2. โหลดเต้ารับ โดยปกติเต้ารับมี 2 แบบ คือเต้ารับเดียว(มีที่เสียบจุดเดียว) และเต้ารับคู่ (ใน1จุดเสียบได้ 2 เต้าเสียบ)

ค่าของโวลต์แอมแปร์มี2 ค่า เป็นค่าตายตัว กำหนดเป็นเต้ารับเดียวเท่ากับ 90 โวลต์แอมแปร์ส่วนเต้ารับคู่มีค่า 180 โวลต์แอมแปร์ จากตัวอย่างมี6 จุด ดังนั้น ค่าของ CU-2 มีค่าเท่ากับ 180*6=1080 VA

3. โหลดแอร์ ต้องดูขนาด BTU โดยเลือกจากขนาดห้อง จากตัวอย่างขนาดห้องเท่ากับ 52 ตรม.
BTU | ห้องปกติ (ตร.ม) | ห้องโดนแดด(ตร.ม) |
9,000 | 12-15 | 11-14 |
12,000 | 16-20 | 14-18 |
18,000 | 24-30 | 21-27 |
21,000 | 28-35 | 25-32 |
24,000 | 32-40 | 28-36 |
25,000 | 35-44 | 30-39 |
30,000 | 40-50 | 35-45 |
35,000 | 48-60 | 42-54 |
48,000 | 60-80 | 56-72 |
80,000 | 80-100 | 70-90 |
จากตัวอย่าง เป็นห้องปกติ จะใช้เป็นขนาดค่า 35,000 BTU จากนั้นต้องแปลงเป็นโวลต์แอมแปร์
โดยใช้ตาราง ค่าโหลดของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (Split Type) 1 เฟส 230V
ความจุ (Capacity) | โหลด kVA | |
ตันความเย็น (TR) | BTUH | |
1 | 12,000 | 1.50 |
1.5 | 18,000 | 1.70 |
2 | 24,000 | 2.60 |
3 | 36,000 | 4.20 |
ค่าโหลดของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (Split Type) 3 เฟส 400V
ความจุ (Capacity) | โหลด kVA | |
ตันความเย็น (TR) | BTUH | |
4 | 48,000 | 6.12 |
5 | 60,000 | 7.83 |
6 | 72,000 | 9.74 |
7 | 84,000 | 12.18 |
8 | 96,000 | 12.97 |
9 | 108,000 | 14.02 |
10 | 120,000 | 16.45 |
12.5 | 150,000 | 18.20 |
15 | 180,000 | 22.90 |
20 | 240,000 | 35.54 |
จากตัวอย่างมี 1 ตำแหน่ง ดังนั้น ค่าของ CU-3 มีค่าประมาณ 4.2 kVA

ถ้าเป็นโหลดตัวอื่น ใช้การคำแปลง 2 สูตรด้านบน ตัวอย่างเช่น เตาไฟฟ้า ขนาด 5500 watt
VA=5500/0.8 =6,875 โวลต์แอมแปร์ เป็นต้น
4. จากนั้นมากรอกหาค่าเบรกเกอร์และขนาดสายเพื่อกรอกค่าในตารางโหลดคอนซูเมอร์ ยูนิคกัน โดยใช้สูตร S=VA แทนค่าหากระแส เราใช้ V=220 V 1 เฟส และเราจะคูณเผื่อค่าป้องกับกระแส 25% ในการเลือกขนาดเบรกเกอร์และสาย ดังนี้จะต้องคูณเผื่อ 1.25 และใช้ตารางประกอบจากหนังสือมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ.2556 ****ตามมาตรฐานใหม่ต้องเลือกขนาดสายต่ำสุดที่ขนาด 2.5 Sq.mm.
1. ตารางเลือกขนาดสายโดยใช้ กระแสที่คำนวณได้

2. ตารางเลือกขนาดสายกราวด์ โดยใช้ ขนาดเบรกเกอร์ ที่คำนวณได้

3. ตารางเลือกขนาดท่อโดยใช้ จากขนาดสายที่เลือก โดยจะเป็นชนิดท่อโลหะบาง EMT

CU-1 มีค่า 500 VA แทนค่า 500VA = I(220) ดังนั้น I=2.27 A; I CB=2.27*1.25=2.84 เลือกเบอร์เกอร์ที่ 10 A หรือ16 A ขั้นต่ำค่ะ ดังนั้นเลือกขนาดสาย 2.5 Sq.mm ตามตาราง และสาย 2×2.5/2.5(G) Sq.mm และท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 mm. จากตาราง
CU-2 มีค่า 1080 VA แทนค่า 1,080 VA = I(220) ดังนั้น I=4.9 A; I CB=4.9*1.25=6.1 เลือกเบอร์เกอร์ที่ 20 A ขั้นต่ำค่ะเนื่องจากว่าเบรกเกอร์สำหรับเต้ารับควรใช้ขั้นต่ำที่ 20 A ป้องกันการต่อพ่วงต่างๆ ดังนั้นเลือกขนาดสาย 4 Sq.mm ตามตาราง 1 ,สายกราวด์ขนาดสาย 2.5 Sq.mm ตามตาราง 2 และสายจะสามารถเขียนได้เป็น 2×4/2.5(G) Sq.mm และท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 mm.จากตาราง
CU-3 มีค่า 4.2 kVA แทนค่า 4,200 VA = I(220) ดังนั้น I=19 A; I CB=19*1.3=25 เลือกเบอร์เกอร์ที่ 25 A ขั้นต่ำค่ะ ดังนั้นเลือกขนาดสาย 6 Sq.mm ตามตาราง 1, สายกราวด์ขนาดสาย 4 Sq.mm ตามตาราง 2 และสายจะสามารถเขียนได้เป็น 2×6/4(G) Sq.mm และท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 mm จากตาราง
*****ถ้าเรามีโหลดแค่นี้ จะได้ โหลดรวมทั้งหมด 3 วงจร มีค่าเป็น CU-1+CU-2+CU-3=550+1080+6875=8505 VA
หากระแส I=S/V , I=(8500/220)=38.659 A, เลือก ICB = 38.66*1.25=48.32 เลือก เบอร์เกอร์ขนาด 50 A
สำหรับที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นขั้นตอนคร่าว ๆ สำหรับเช็คไฟบ้านของตัวเองนะคะ ใครมีข้อสงสัยสามารถถามคำถามมาได้ หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ