การออกแบบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ตามมาตรฐานที่ใช้สำหรับอาคารต่าง ๆ ตั้งแต่ บ้านพักอาศัย อาคารขนาดเล็กจนถึงอาคารขนาดใหญ่ โดยที่ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ต้องเป็นระบบอิสระทำงานได้ถูกต้องด้วยตัวเอง แยกออกจากระบบควบคุมอื่น ๆ แต่สามารถเชื่อมข้อมูลสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ระบบควบคุมอาคารรวมให้รับทราบและสามารถบันทึกหน่วยความจำได้ อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนในระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่เลือกมาใช้งาน ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้แบบ Hard wire system
ระบบจะสั่งการทำงานผ่านตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm Control Panel) มีการแบ่งโซนการทำงานโดยมีอุปกรณ์ตรวจจับ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) หรืออุปกรณ์สั่งงานด้วยมือ (Manual Pull Station) ซึ่งอุปกรณ์ตรวจจับชนิดต่าง ๆ จะส่งสัญญาณมายังตู้ควบคุมเพื่อทำการส่งสัญญาณผ่านอุปกรณ์แจ้งเตือนแบบต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์แจ้งเตือนเสียงกระดิ่ง (Alarm Bell) หรืออุปกรณ์แจ้งเตือนแบบแสงและเสียง (Strobe Light with Horn) ทั้งนี้ตู้ควบคุมยังสามารถส่งสัญญาณไปยังระบบอื่น ๆ ได้อีกเช่น ระบบประตูอัตโนมัติหรือระบบสื่อสารอื่น ๆ
2. ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้แบบ Multiplex system
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้แบบ Addressable system ระบบจะสั่งการทำงานผ่านตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (NFS-Series) โดยผ่านอุปกรณ์ซึ่งจะมีอยู่สองประเภทคือ
– อุปกรณ์ที่สามารถระบุที่อยู่ได้ในตัวเอง ( Addressable Detector )
– อุปกรณ์ระบุที่อยู่สำหรับ (Module)
เมื่อเกิดเหตุที่อุปกรณ์ตรวจจับตำแหน่งใด ๆ อุปกรณ์ตรวจจับชนิดต่าง ๆ จะส่งสัญญาณมายังตู้ควบคุมเพื่อทำการส่งสัญญาณผ่านอุปกรณ์แจ้งเตือนแบบต่าง ๆ ตู้ควบคุมยังสามารถส่งสัญญาณไปยังระบบอื่น ๆ ได้อีก เช่น ระบบประตูอัตโนมัติ รองรับระบบ Network ระบบ SCADA หรือส่งผ่านข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือต่าง ๆ
What a material of un-ambiguity and preserveness of valuable experience about unexpected feelings. Bill Matias Nonna